วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรุปทฤษฎีนักจิตวิทยา


                                             ทฤษฏีพัฒนาการ

ที่
ทฤษฏี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ฟรอยด์
บุคลิกภาพ
ฟรอยด์ เชื่อว่าบุคลิกภาพส่วนใหญ่ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน   เป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัย   ขึ้นอยู่กับแต่ละคน   การแก้ปัญหาความขัดแย้งของในแต่ละช่วงวัยอย่างไร   โดยในช่วงอายุ 0-6 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมาก
ขั้น
ต้องรู้วัยพัฒนาการของเด็ก ต้องรู้ว่าวัยไหนควรจัดการเรียนแบบไหนเมื่อรู้แล้ว เราสามารถวางแผนการสอนได้ถูกต้อง และเมื่อมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ไขได้ทันถ่วงที
2
อีริคสัน
เรียนรู้ตลอดชีวิต
พัฒนาการเริ่มตั้งแต่อายุ 0 ปี จนถึงวัยชรา(ตลอดชีวิต)  และทุกๆการพัฒนานั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่พบเจอในสังคม ส่วนวัยผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวัยเด็ก
ขั้น
ไม่ควรที่จะคำนึงถึงประสบการณ์ของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็กด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น และสามารถวางแผนการสอนได้อย่างถูกต้อง
3
โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
พัฒนาการตามวัย
พัฒนาการของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่สังคมและวัฒนธรรมก็ยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละคน
ขั้น
ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ
4
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรม
รู้การผิดชอบชั่วดีของมนุษย์
ขั้น
1. ครูสามารถที่จะควบคุมผู้เรียน โดยการกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชั้นเรียน
2. ครูจะสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผลในการตัดสินใจ
5
เปียเจท์
ความคิดและจริยธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กมีกี่ขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ตั้งอยู่บนรากฐานของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ขั้น
3. ครูสามารถที่จะจัดสื่อในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4. ครูสามารถฝึกการทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียน
5. ครูจะสามารถให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
6
บรูเนอร์
พัฒนาการทางด้านความคิด
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือองค์ความรู้เดิม
ขั้น
ครูสามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน โดยสามารถคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนแต่ละคน




ทฤษฏีการเรียนรู้


ที่
ทฤษฎี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1.
พาฟลอฟ
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตมักเกิดจากการวางเงื่อนไข จนนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถอธิบานเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำหลายๆครั้ง จนผู้ถูกวางเงื่อนไขเกิดการเรียนรู้ ครั้งต่อไปก็จะเกิดพฤติกรรมตอบสนองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่มีสิ่งเร้าเกิดขึ้น โดยไม่ต้องบอกเงื่อนไขซ้ำอีก
3 ขั้น
ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมมตอบสนองของผู้เรียน
2.
วัตสัน
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
ทุกๆพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์จะเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
คนเราเกิดมาจะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือ
-       ความกลัว
-       ความโกรธ
-       ความรัก
ขั้น
ครูสามารถที่จะหลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ ในการควบคุมผู้เรียน ครูจะสามารถวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์ได้
3.
ธอร์นไดท์
การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการตอบสนองจะแสดงออกในหลายๆรูปแบบจนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีที่สุด เรียกว่า การลองผิดลองถูก
3ขั้น
1. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง
2. เมื่อผู้เรียนเกิดการรู้แล้ว  ครูสามารถที่จะฝึกให้ผู้เรียนนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตัวเองพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียน การสอน ประสบความสำเร็จ
4.
สกินเนอร์
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบ Type R และให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับพฤติกรรมตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่จะให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า และยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเสริมแรง หรือพูดได้ว่าอัตราการเกิดพฤติกรรมตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำที่เรียกว่า การเสริมแรงหรือการลงโทษทั้งทางบวกและทางลบ
ในการเรียนการสอนครู  สามารถที่จะใช้ทฤษฏีนี้ ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเสริมแรงให้กับผู้เรียน เช่น ให้คำชมเมื่อผู้เรียนทำดี และในการลงโทษครูสามารถที่จะลงโทษผู้เรียนในทางบวกได้
5.
เกสตัลท์
การเรียนรู้จากการรับรู้และการหยั่งเห็น
ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ทั้งนั้นในการแก้ปัญหาในแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ วุฒิภาวะ และประสบการณ์ที่เคยพบมาในอดีตด้วย
4ขั้น
1. ครูสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
2. ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
6.
บันดูรา
การเรียนรู้จากการสังเกตเเละเลียนเเบบ
โดยที่บันดูรา กล่าวว่า มนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม ถึงจะเกิดการสังเกตเเละเลียนเเบบ
ขั้น
ครูสามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเรียนการสอน ในเรื่องการแต่งกาย ฯลฯ


วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หน้าแรก


    จิตวิทยาสำหรับครู

 จัดทำโดย

  นางสาว อนุศรา    หลังเกตุ

   รหัสนักศึกษา 405918036

        สาขาวิชา การประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1

          คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 


จิตวิทยาสำหรับครู
             
          จิตวิทยาสําหรับครู  เปนศาสตรที่ศึกษาเพื่อใหผูสอนมีความรูความเขาใจความแตกตางและความตองการของผูเรียน  ในอันที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผูเรียนไปสูแนวทางอันพึงประสงคได  โดยผูสอนควรมีความรูความเขาใจ  ดังนี้

ความพรอมของผูเรียน 

   1.  ความพรอมทางดานรางกาย  ซึ่งหมายถึงความพรอมอันเกิดจากความเปนปกติทางรางกาย เชน ไมอดนอน ไมหิวโหย ไมเจ็บปวย ไมรอนหรือหนาวจนเกินไป เปนตน
   2. ความพรอมทางดานจิตใจและดานอารมณ เรื่องนี้ครู อาจารยมีความเกี่ยวของมากขึ้น แตอีกสวนหนึ่งก็เปนความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยูเหมือนเดิม  สวนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง

  3. ความพรอมทางดานสติปญญา หมายถึงการมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรูหรือรับรูสิ่งใหม ๆ ทางวิชาการ

หลักการสําคัญของการเรียนรู
   1.ผูเรียนควรจะมีสวนรวมในการเรียนรูอยางจริงจัง (Active Participation)
   2.ผูเรียนควรจะไดเรียนรูทีละขั้นทีละตอนจากงายไปสูยากและจากไมซับซอนไปสูรูปที่ซับซอน (Gradual approximation)
   3.ใหนักเรียนไดรับขอมูลยอนกลับที่เหมาะสมและไมเนิ่นนานจนเกินไป  (Immediate feedback)
   4. การเสริมแรงหรือใหกําลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)






                                   เรื่องที่ 1 ทฤษฎีพัฒนาการ

ความหมายของพัฒนาการ

นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของคำว่าพัฒนาการ (development) ดังนี้
     สุชา จันทร์เอม (2540 : 1) กล่าวว่าพัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง (process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต
     ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต (2541 : 1) ได้ให้คำจำกัดความของพัฒนาการว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเจริญเติบโตงอกงามและถดถอย และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลรวมของวุฒิภาวะและประสบการณ์ 
     ศรีเรือน แก้วกังวาล (2540 : 21) กล่าวว่าพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งที่สังเกตได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

      จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า พัฒนาการเป็นกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ในทุก ๆ ด้านของชีวิตตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในลักษณะของการเจริญงอกงามและการถดถอย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งนำไปสู่ความมีวุฒิภาวะ

                นักจิตวิทยาทฤษฎีพัฒนาการ

-ฟรอยด์
-อิริคสัน
-โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
-เปียเจท์
-โคลเบิร์ก
-บรูเนอร์
                                          



                                    เรื่องที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้

      ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้

       การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
          1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
          2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
          3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา


พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
       - การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
      - การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
     - การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง
     - การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ

3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง

      - การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง 

            นักจิตวิทยาทฤษฎีการเรียนรู้

-พาฟลอฟ
-วัตสัน
-ธอร์นไดค์
-สกินเนอร์
-บันดูรา
-กลุ่มเกสตัลท์