วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้



                               
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีพาฟลอฟ
           
          พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไจ (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย


การทดลองของพาฟลอฟ
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับการทดลอง
         1. Unconditioned Stimulus ; UCS สิ่งเร้าที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
         2. Conditioned Stimulus ; CS สิ่งเร้าที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
         3. Unconditioned Response ; UCR พฤติกรรมตอบสนองที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน ของร่างกาย เช่น น้าลายไหล ส่ายหัว (สุนัข)
         4. Conditioned Response ; CR พฤติกรรมตอบสนองที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้ เงื่อนไขที่กำหนด

ขั้นตอนการทดลองของพาฟลอฟ
การเตรียมการทดลอง เป็นการเตรียมสิ่งที่ใช้ทดลอง ได้แก่ สุนัขที่กำลังหิว อาหาร กระดิ่ง เครื่องวัดน้ำลายและท่อยาง


ก่อนการวางเงื่อนไข เป็นขั้นศึกษาพฤติกรรมตอบต่อสิ่งเร้าของสุนัข


ระหว่างการวางเงื่อนไข เป็นขั้นของการทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้เงื่อนไข เพื่อแสดงพฤติกรรมตอบสนอง


ขั้นของการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทำให้รู้ว่าสุนัขเกิดพฤติกรรมตอบสนองการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟหรือยัง 







แนวคิดของวัตสัน

แนวคิด  
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
วิธีการทดลอง  
เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
                                                           แผนผังการทดลอง
เสียงดัง  (UCS)                   --------------             กลัว (UCR)
หนูขาว  (neutral)                --------------                ไม่กลัว
หนู  +  เสียงดัง                     --------------             กลัว  (CR)
หนูขาว    (CS)                      --------------                กลัว  (CR)

การวางเงื่อนไขกลับ(Counter Conditioning)
วัตสันคิดหาวิธีที่จะลบความกลัวนั้นให้หายไป แต่เขาก็ไม่สามารถทำการทดลองกับอัลเบรอร์ตต่อไปได้เนื่องจากอัลเบรอร์ตได้มีผู้รับไปอุปการะในอีกเมืองหนึ่งเสียก่อน วัตสันจึงได้เสนอให้โจนส์ ทำการทดลองเพื่อลบความกลัวของเด็กอายุ 3 ปี ผู้หนึ่งชื่อ ปีเตอร์
            ปีเตอร์เป็นเด็กที่มีสุขภาพดี แต่เป็นเด็กขี้กลัวมาก เขากลัวทั้งขนสัตว์และสิ่งของหลายชนิด เช่น หนูขาว กระต่าย เสื้อขนสัตว์ ขนนก สำลี กบ ปลา เป็นต้น วัตสันเปรียบปีเตอร์เหมือนเป็นอัลเบรอร์ตตอนโตขึ้นแล้ว
            โจนส์ได้พยายามลบความกลัวกระต่ายของปีเตอร์หลายๆวิธี เช่น ให้ปีเตอร์ดูเด็กอื่นเล่นกระต่าย หรือให้ปีเตอร์เห็นกระต่ายบ่อยๆ แต่ก็ไม่เป็นผล วิธีที่โจนส์ให้ความสนใจและพบว่าได้ผลมากก็คือ  การวางเงื่นไขกลับ (Counter Conditioning) การวางเงื่อนไขกลับนี้ เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม

วิธีการทดลอง
      โจนส์จะนำกรงกระต่ายไปวางไว้ห่างๆในขณะที่ปีเตอร์กำลังรับประทานขนมอย่างเอร็ดอร่อยในช่วงบ่าย ปีเตอร์ไม่กลัวเพราะกระต่ายอยู่ไกลและกำลังเพลิดเพลินกับการกินขนม โจนส์ทำการทดลองเช่นนี้ทุกวัน แต่จะค่อยๆ เลื่อนกระต่ายเข้ามาใกล้ปีเตอร์วันละนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลอง โจนส์ก็พบว่า ปีเตอร์ใช้มือข้างหนึ่งเล่นกับกระต่าย ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งกินขนม จึงแสดงว่า ไม่เพียงแต่เข้าจะหายกลัวกระต่ายเท่านั้น แต่เขายังรู้สึกชอบเล่นกับกระต่ายอีกด้วย




จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
      1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
      2)เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้


    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำของสกินเนอร์ 

       ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "

การเสริมแรง (Reinforcement )
หมายถึง สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
            1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
            2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าที่ซึ่งเมื่อถูกถอดถอนออกไปแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองมีความถี่หรือเพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อใดที่หัวหน้าอยู่ด้วย พนักงานพิมพ์ดีดจะพิมพ์ได้ช้าและผิดพลาดมาก  เมื่อใดที่หัวหน้าออกจากห้องไป พนักงานพิมพ์ดีดก็จะพิมพ์ได้เร็วขึ้น และผิดพลาดน้อยลง กรณีนี้หัวหน้าก็เป็นตัวเสริมแรงทางลบ

 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
          
           ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
         Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ




การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์

หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequence หรือ Effect)




การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม


การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม ผลกรรมที่เกิดขึ้น
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
- ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ

การเสริมแรง หมายถึง การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
- เสริมแรงทางบวก เช่น ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
- เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ

การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่ไม่ต้องการ หรือ ถอดถอนสิ่งที่ต้องการแล้วทำให้พฤติกรรมลดลง ได้แก่
- การลงโทษทางบวก เช่น เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
- การลงโทษทางลบ เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์


ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

การทดลอง 

ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น

จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้

กฏแห่งการเรียนรู้
1.กฎแห่งความพร้อม(law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ 
2.กฎแห่งการฝึกหัด (low of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
กฎการเรียนรู้
3.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้




บันดูรา

ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี 2 ขั้น

ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้ 

การเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquision)
ขั้นที่ 2 ขั้นการกระทำ (Performance)

ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention)
กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะใม่เกิดขึ้น
2. กระบวนการจดจำ (Retention)
กระบวนการจดจำ (Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
3. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction)
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4. กระบวนการการจูงใจ (Motivation)
กระบวนการการจูงใจ (Motivation)แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้

การทดลอง
บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
-กลุ่มหนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง

-ผลการทดลองพบว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบ


 กลุ่มเกสตัลท์

กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่าการเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ 

การรับรู้ (Perception) 

การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้ 

การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น"การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย" นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้
กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)
กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
กฏแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

1. กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) 
ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ในสิ่งเดียวกันต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ
ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจเพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้(Background 
or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้ นั้น ๆ แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกำหนด Figure และ Background ของเกสตัลท์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะสามารถทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้ ซึ่งนักศึกษาจะได้ ทราบรายละเอียดในเรื่องทฤษฎีการเรียน รู้ของกลุ่มเกสตัลท์ในโอกาสต่อไป แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้

บางครั้ง Figure อาจเปลี่ยนเป็น Ground และ Ground อาจเปลี่ยนเป็น Figure ก็ได้ ถ้าผู้สอนหรือผู้นำเสนอ เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมายเบนความสนใจไปตามที่ตนต้องการ โปรดดูภาพต่อไปนี้


ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นนางฟ้า หรือว่า ปีศาจ ถ้ามองสีดำเป็นภาพสีขาวเป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร แต่ถ้ามองสีสีขาวเป็นภาพสีดำ เป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร ลองพิจารณาดู





ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน ต่อไปลองพิจารณารูป 2 รูป ข้างล่างนี้ดูซิ







ดูภาพซ้ายมือนี้อีกที ก็คงมีความรู้สึก เช่นเดียวกับรูปที่ผ่านมาคืออาจจะเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน หรือรูปพานแต่ถ้าดูรูปขวามือนี้มาก่อน ก็คงไม่มีใครที่จะเห็นว่ารูปซ้ายมือเป็นรูปพาน คงจะตอบว่าเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน 





ดูภาพซ้ายมื่อนี่ซิ ว่าเป็นหญิงชรา หรือว่าหญิงสาวหลายคนบอกว่าเป็นได้ทั้งสองอย่าง




จะเห็นได้ว่า ภาพเดียวกัน คนบางคนยังเห็นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของแต่ละคน อิทธิพลของประสบการณ์ที่มีต่อการรับรู้ภาพและพื้น การมองเห็นรูป เป็นภาพ (Figure) และพื้น (Ground) สลับกันนั้นตามทฤษฎี ของกลุ่ม เกสตัลท์ เชื่อว่า การรับรู้ในลักษณะเช่นนี้ ขึ้นยู่กับประสบการณ์ ของบุคคลเป็นสำคัญ หรือ ประสบการณ์เดิมของบุคคล มีผลต่อการรับรู้ ภาพและพื้น หรือภาพสองนัย 

เรื่องนี้ มีงานวิจัยที่น่าสนใจคือ งานวิจัยของ ลีเปอร์ ซึ่ง ลีเปอร์(Leeper. 1935) ได้ทดลองเกี่ยวกับอิทธิพลของประสบการณ์ของบุคคลที่มีต่อ ภาพสองนัย โดยทดลองกับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นภาพ 3 ภาพ คือ




การทดลองของ ลีเปอร์(Leeper. 1935)





ภาพ A เป็นภาพสองนัย 
ภาพ B เป็นภาพหญิงสาว 
ภาพ C เป็นภาพหญิงชรา

ลีเปอร์ ได้แบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ให้ดูภาพ A เป็นเวลา 25 วินาที
กลุ่มที่ 2 ให้ดูภาพ C เป็นเวลา 30 วินาที และให้ดูภาพ A ต่อ อีก 15 วินาที
กลุ่มที่ 3 ให้ดูภาพ B เป็นเวลา 30 วินาที แล้วให้ดูภาพ A ต่อ อีก 15 วินาที

ผลการทดลอง 
กลุ่มที่ 1 ที่ให้ดูเฉพาะภาพ A(ภาพสองนัย) ภาพเดียว เป็นเวลา 25 วินาที 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงสาว 60 % 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงชรา 40 %

กลุ่มที่ 2 ที่ให้ดูภาพ C (หญิงชรา) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 
(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 95 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 5 %

กลุ่มที่ 3 ที่ให้ดูภาพ B (หญิงสาว) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 
(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 100 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 0 % 

2. กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
กฎนี้เป็นกฎที่ Max Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923 โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่คล้ายกัน คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน 





จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่า รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่ละรูป ที่มีสีเข้ม เป็นพวกเดียวกัน 

3. กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 
สาระสำคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน หรือในเวลาเดียวกัน อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกัน 




จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่ามีทหารเป็น 5 Columns 
(Proximity : These forty soldiers are seen as five columns because of spacing) 

4. กฏแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) 
สาระสำคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า "แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น" 

ลองดูภาพต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่า ถึงแม้เส้นต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องลากไปจนสุด หรือบรรจบกัน แต่เมื่อสายตามองก็พอจะเดาได้ว่า น่าจะเป็นรูปอะไร 





ภาพต่อไปนี้ก็เช่นกัน แม้จะไม่ใช่ภาพที่เขียนขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่คนที่มีประสบการณ์เดิม ก็พอจะรู้ว่า เป็นภาพ สุนัข 



5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) 
สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) 
สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น